ต้นทุนที่มีค่าของการดำเนินธุรกิจ

การประกอบธุรกิจนั้นจะมีต้นทุน 2 ประเภท ได้แก่ ต้นทุนที่ก่อให้เกิดรายได้ และ ต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งในต้นทุนที่ก่อให้เกิดรายได้ จะต้องได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าต้นทุนที่จ่ายไปแล้ว เราจะต้องทำการจัดทำรายการต้นทุนเพื่อให้เราทราบว่าอะไรที่ก่อให้เกิดรายได้ อะไรที่ทำให้เกิดการสูญเปล่า เพื่อกำจัดสิ่งนั้นออกไปนั่นเอง โดยต้นทุนที่ก่อให้เกิดรายได้ จะมีด้วยกัน 3 ระยะ คือ ช่วงสั้น ช่วงกลางและช่วงยาว ซึ่งการลงทุนนั้นจะต้องก่อให้เกิดรายได้ในระยะนั้นๆ โดยลงทุนกับสิ่งหนึ่งแล้วก่อให้เกิดรายได้ในการประกอบธุรกิจนั้นด้วย เช่น การส่งพนักงานไปอบรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน ที่จะนำมาพัฒนาองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร และการก่อให้เกิดรายได้อื่นๆ ในระยะยาวขององค์กร

นอกจากนี้ยังมีต้นทุนด้านการเงินอีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก อาจไม่ได้จากตำรา และมาจากประสบการณ์ล้วนๆ นั่นคือ “ต้นทุน Money” สิ่งที่แลกเปลี่ยนเป็นเงิน จะต้องมีการควบคุม แต่สามารถควบคุมได้ง่าย

อย่างไรก็ตามก็ต้องป้องกันการรั่วไหลด้วย ซึ่ง ต้นทุน Money นั่นหมายถึง เงินสด นั่นเอง ซึ่งสินค้าที่คุณมีอยู่จะต้องแปลงเป็นเงินสดให้ได้ และไม่มีสินค้าคงค้างสต๊อกที่จะเกิดการสูญเปล่า ไม่เกิดภาวะคอขวดในกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะแนวทางใดคุณจะต้องแปลงสินค้าเป็นเงินสดเพื่อกลับมาหมุนเวียนในธุรกิจของคุณให้จงได้

สำหรับ ต้นทุนด้านบุคคล ถือว่า เป็นต้นทุนที่มีค่าของการดำเนินธุรกิจ เพราะการดำเนินธุรกิจจะต้องอาศัยความคิดที่ซับซ้อน โดยจะต้องใช้สมองของคนให้การคิดริเริ่มและพัฒนาการเกิดการเจริญเติบโต ซึ่งจะต้องมีบุคลากรที่มีคุณภาพ การจะนำมาซึ่งต้นทุนที่ดี และมีการบริหารจัดการเบ็ดเสร็จ ที่จะไม่ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น หรือต้นทุนบานปลาย และไม่เกิดการเสียเวลา

โดยการบริหารจัดการคนนั้น เกิดจากการพัฒนาและทักษะที่ได้รับการฝึกฝนให้กับบุคคลเหล่านั้นให้เป็นไปตามสิ่งที่ธุรกิจต้องการ เช่น การตัดสินใจที่ถูกต้อง แม่นยำ รอบคอบ รวดเร็วและที่สำคัญ คือ ความถูกต้อง ซึ่งการทำงานที่ถูกต้อง เป็นตัวชี้วัดถึงกำไรขององค์กรที่จะทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้ และไม่เกิดต้นทุนสูญเปล่า นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ ซึ่งสิ่งที่ได้รับไม่ใช่เงินเดือนที่เพิ่มขึ้น แต่จะได้พนักงานที่เก่งขึ้น มีคุณภาพมากขึ้นด้วย

โดยฝ่ายที่มีความสำคัญของส่วนนี้คือ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ที่จะต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน และให้พนักงานเกิดการรักองค์กรด้วย เกิดการพัฒนาตนเอง สร้างความตระหนักถึงการพัฒนาองค์ความรู้ของตนให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองและองค์กร เพื่อที่จะทำให้องค์กรดำเนินต่อไป ในการพัฒนาบุคลากรทั้งองค์กร จะต้องทำให้บุคลากรทำงานได้มากกว่า 1 อย่าง หรือ 1 ทักษะ เพื่อที่จะให้องค์กรเดินหน้าไปได้อย่างราบรื่น ไร้อุปสรรค

นอกจากต้นทุนที่กล่าวข้างต้นแล้ว ต้นทุนที่สำคัญและไม่สามารถย้อนกลับไปดำเนินการได้อีก นั่นคือ ต้นทุนด้านเวลา ที่ถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้ต้นทุนด้านบุคคลเลยทีเดียว เนื่องจากเวลาไม่สามารถซื้อเพิ่มได้ ไม่สามารถย้อนกลับไปได้ เวลาอาจทำให้คุณสูญเสียมูลค่ามหาศาลได้ โดยการทำงานในยุคปัจจุบันไม่เพียงแต่ “Work Hard” เพียงอย่างเดียว จะต้องเพิ่มการ Work smart เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานดียิ่งขึ้น และจะทำให้องค์กรเจริญเติบโตได้ด้วย

ซึ่งผู้บริหารเองจะต้องมีเวลาการบริหารจัดการงานที่ทำให้เวลางานเพิ่มขึ้น โดยการมีคู่คิด พนักงานที่ทำงานร่วมกัน ทำให้มีเวลาในการบริหารงานได้เพิ่มขึ้น คิดงานได้หลากหลายจนนำไปสู่หนทางการประสบความสำเร็จในงานนั้นๆ ที่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับองค์กรได้